
การคลอดทางช่องคลอดในสตรีตั้งครรภ์ที่เคยผ่าตัดคลอดในครรภ์ก่อน คืออะไร
Vaginal Birth After Cesarean delivery
คือ การคลอดทางช่องคลอดในสตรีตั้งครรภ์ที่เคยผ่าตัดคลอดในครรภ์ก่อน
VBA2C, Vaginal birth after 2 cesarean.
VBA3C, Vaginal birth after 3 cesarean.
CBAC, Cesarean birth after cesarean.
ในเมืองไทย มักนิยมใช้คำนี้
TOLAC = Trial Of Labor After Cesarean delivery
คือ “การลอง”เข้าสู่กระบวนการคลอดทางช่องคลอดในสตรีตั้งครรภ์ที่เคยผ่าตัดคลอดในครรภ์ก่อน ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าไม่ควรใช้คำว่า “การลอง” เจ็บครรภ์คลอด เพราะเจ็บครรภ์คลอดคือความจริง
หากแม่ท้องที่อยากคลอดเองในการท้องครั้งต่อไป หลายๆงานวิจัยแนะนำให้เว้นระยะระหว่างท้องครั้งที่แล้วอย่างน้อย 18-24 เดือน
1️⃣ สิ่งแรกคือ เลือกคุณหมอและโรงพยาบาลที่สนันสนุนการคลอดแบบ VBAC แม่ท้องตั้งถามเยอะๆนะ เช่น ประสบการณ์ และ แนวคิดเรื่อง VBAC
2️⃣ เตรียมร่างกายและจิตใจแต่เนิ้นๆ ทั้งคุณแม่ท้องและคุณสามีหรือคุณพาทร์เนอร์
3️⃣หากเปลี่ยนรพ หรือ คุณหมอสูติ (เพราะคนเดิมไม่สนับสนุน ก็เปลี่ยนค่ะ) โดยคุณหมอสูติจะขอประวัติเคยถูกผ่าจากโรงพยาบาลก่อน ว่าการผ่ามดลูกเป็นแบบ “horizontal” หรือ “vertical” และเหตุผลของการผ่าคลอด เช่นเลยกำหนดคลอด ปาดมดลูกไม่เปิดแม้เร่งการคลอดไปแล้ว หรือน้องไม่กลับหัว (breech baby)
4️⃣หากแม่ท้องเคยมีประวัติการผ่ามดลูกมาก่อน เช่น ผ่าคลอด ตัดเนื้องอกมดลูก ฯลฯ คุณหมอจะพิจรณาปัจจัยอื่นๆด้วย
5️⃣แต่สำคัญที่สุด คือ กำลังใจและความมั่นใจของคุณแม่
🙏🙏🙏แน่นอนว่าการคลอดเองหลังเคยผ่าตัดคลอดมาก่อนนั้นมีความเสี่ยง
แม่ท้องที่มีประสบการณ์การผ่าคลอดมาก่อน เมื่อเกิดแผลที่ตัวมดลูกมาก่อน กล้ามเนื้อบริเวณรอยผ่าจึงแข็งแรงน้อยที่สุด เมื่อมดลูกมีการบีบตัวเพิ่มแรงดันภายในมากๆ อาจเกิดการปริแตกที่รอยผ่าเดิมได้ อาจนำไปสู่ภาวะมดลูกแตก แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 0.5- 0.9% หลังผ่าคลอดครั้งแรก และมีความเสี่ยงประมาณ 1-1.8 % ในการผ่าคลอดครั้งที่สอง รวมถึงแม่ท้องที่เคยมีประวัติการผ่าตัดก้อนเนื้องอกมดลูก การขูดมดลูก มีภาวะมกลูกผิดปกติแต่กำเนิด เคยมีประวัติประสบอุบัติเหตุรุนแรง การคลอดติดขัดหรือใช้หัตการช่วยคลอด เช่นใช้ forceps ลักษณะอาการทางคลินิก เลือดออกทางช่องคลอดหรือ/และในช่องท้อง ทารกมีภาวะ fetal distress หรือเสียชีวิตฉับพลัน หรือแม่ท้องมีภาวะช้อค หากประเมินอาการด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว อาจต้องผ่าตัดฉุกเฉินในทุกราย เย็บซ่อมแซมหรือตัดมดลูก หรือนำไปสู่การทำหมัน
*การทำ VBAC มีความเสี่ยงน้อย แต่ความเสี่ยงน้อยนี้ “ภาวะมดลูกปริแตก” เป็นภาวะที่มีอันตรายสูงมาก แม่ท้องต้องเรียนรู้หาข้อมูลและสำคัญที่สุดหาคุณหมอที่สนับสนุนการทำ VBAC และชั่งน้ำหนักเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด
🙏🙏🙏แม้การคลอดครั้งต่อไปยังผ่าอีกรอบ เรียกว่า CBAC
โอกาสคลอดเองสำเร็จหลังเคยผ่าคลอด
https://mfmunetwork.bsc.gwu.edu/Publi…
จากข้อมูลของเว็บไซต์นี้คือการคำนวณความเป็นไปได้ของ VBAC แม่ท้องหลายๆคน คำนวณความเป็นไปได้ไม่ถึง 30 % แต่พบว่า แม่ท้องเหล่านั้น ประสบความสำเร็จในการทำ VBAC กว่า 80 % ดังนั้น การคำนวณไม่ถูกต้องเสมอไป
•เคยผ่าตัดคลอดแบบแผลที่มดลูกเป็นแนวตั้ง “vertical” (classical cesarean incision) ย้ำว่าแผลที่มดลูก ไม่ใช่ที่ผิวหนังหน้าท้อง
🙏🙏🙏แม่ท้องที่มีความเสี่ยงต่อภาวะมดลูกปริแตกจะสูง จึงเสี่ยงต่อการแตกได้ง่าย อาจไม่เหมาะกับ VBAC
• มีประวัติมดลูกปริแตกมาก่อน
• มีประวัติผ่าตัดแผลยาวและลึกบริเวณยอดมดลูก เช่น ผ่าตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
• เคยผ่าคลอดมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ความเสี่ยงมดลูกแตกก็จะเยอะขึ้น
• ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ less than 18 เดือน
• มีข้อห้ามอื่นๆในการคลอดทางช่องคลอด เช่น รกเกาะต่ำ, ทารกท่าขวาง, ทารกมีความพิการแต่กำเนิดบางชนิดที่ทนการคลอดทางช่องคลอดไม่ได้, มารดามีโรคประจำตัวที่ห้ามเบ่งคลอด เป็นต้น เช่นภาวะครรภ์เป็นพิษ
• ภาวะอื่นๆที่อาจพิจารณาเป็นรายๆ เช่น มารดาอายุมาก, ขนาดทารก, ขนาดมารดา, อายุครรภ์เกินกำหนดแล้วแต่ไม่มีอาการเจ็บครรภ์เองตามธรรมชาติ, มารดามีโรคประจำตัวหรือภาวะที่มีอันตรายต่อการคลอดเอง, อัลตราซาวด์สงสัยผนังมดลูกบริเวณแผลเดิมบางมากในช่วงท้าย เป็นต้น
✅✅✅ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสคลอดเองสำเร็จสูง
• เคยคลอดเองทางช่องคลอดมาก่อน เช่น ท้องแรกคลอดเอง ท้องสองผ่าเพราะรกเกาะต่ำ ท้องสามไม่ต่ำและไม่มีข้อห้ามอื่น ก็น่าจะคลอดเองได้สำเร็จ
• มีอาการเจ็บครรภ์คลอดเองก่อนอายุครรภ์ 40 สัปดาห์ โดยไม่ต้องกระตุ้นหรือชักนำการคลอด
• คุณแม่สุขภาพดีไม่มีข้อห้ามในการคลอดธรรมชาติ และมีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์
สุดท้ายนี้ การพูดคุยกับแพทย์ที่ฝากครรภ์อย่างละเอียดและวางแผนการคลอด “birth plan” สำคัญมากๆ เพื่อให้มีโอกาสคลอดสำเร็จมากที่สุดและเรียนรู้และเตรียมความพร้อมเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด
แม้สุดท้านแล้ว ต้องมีการเปลี่ยนไปผ่าตัดคลอดครูเชื่อเสมอ ว่า คุณแม่ได้ทำดีที่สุดแล้ว อีกทั้งดุลพินิจของแพทย์ผู้ดูแลและข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์
Reference :
https://www.ican-online.org
https://vbacfacts.com
https://evidencebasedbirth.com/ebb-11…